ข้อสำคัญสำหรับการออมเงินแบบไม่เครียด

เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน 1 ปี
โดยทั่วไปเรามักจะได้ยินว่าเราควรมีเงินเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนของเรา หรือ 12 เท่าหากรายได้ของเราไม่แน่นอน แต่คุณโยโกยามะ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ ได้ฟันธงเลยว่าดีที่สุดคือให้เก็บ 1 ปีไปเลย และเป็นเงินเท่ากับรายได้ 1 ปี (ไม่ใช่รายจ่าย) เพื่อให้อุ่นใจว่าเราจะมีเงินพอในการใช้ชีวิตและใช้จ่ายต่างๆ จะเป็นเรื่องจำเป็นหรือเรื่องเล่น เรื่องความชอบอย่างการเล่นพนัน168 ไม่ว่าเศรษฐกิจจะแย่ขนาดไหนก็ตาม

วิธีออมเงินที่ง่ายที่สุดคือลดรายจ่าย
หลายคนอาจจะเคยลองหาวิธีทำให้ตนเองมีเงินเก็บมากขึ้น โดยการหางานพิเศษทำบ้าง ลดค่าใช้จ่ายบ้าง หรือทำทั้งสองวิธีควบคู่กันไป คุณโยโกยามะเฉลยว่า วิธีที่ง่ายและยั่งยืนที่สุด คือ การลดค่าใช้จ่าย ใครๆ ก็ทำได้และทำได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนวิธีการหารายได้เพิ่มอาจจะเหมาะกับคนที่มีธุรกิจส่วนตัว นอกจากนั้นเขายังยืนยันว่าการประหยัดนั้นไม่จำเป็นต้องน่าเบื่อ สามารถทำให้สนุกได้ โดยการหาวิธีประหยัดที่เหมาะกับนิสัยและพฤติกรรมของตนเองและตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน

เป้าหมายคือสัดส่วนการใช้เงิน มากกว่าจำนวนเงินที่ใช้ไปจริง
เรามักจะคุ้นเคยกับการตั้งเป้าหมายในการออมเงินเป็นจำนวนเงิน เช่น เดือนนี้จะออมให้ได้กี่บาท หรือจะใช้เงินไม่เกินกี่บาท คุณโยโกยามะเสนอว่าทางที่ดีกว่าคือควรจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ให้เราแบ่งการใช้เงินออกเป็น 3 ประเภท คือ ใช้อุปโภคบริโภค ใช้ฟุ่มเฟือย และใช้ลงทุน และพยายามเพิ่มสัดส่วนการใช้ลงทุน เป้าหมายของเขาคือ ให้มีสัดส่วนการใช้เงินเพื่ออุปโภคบริโภค 70% ใช้ฟุ่มเฟือย 5% และใช้ลงทุน 25%

ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับภารกิจออมเงินคือ 90 วัน
สาเหตุที่ภารกิจออมเงินแต่ละช่วงของคุณโยโกยามะใช้เวลา 3 เดือน เริ่มจากวันที่เงินเดือนออก เพราะว่า ระยะเวลาไม่สั้นไป ทำให้สามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ และไม่ยาวไป ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนเป้าหมายครั้งต่อไปได้ง่าย ในระหว่างที่ทำภารกิจนั้น สิ่งที่คุณโยโกยามะแนะนำให้ทำ เช่น ทำบันทึกรายรับรายจ่าย เพื่อให้เรารู้ว่าเราใช้เงินไปทำอะไรบ้าง อยู่ในสัดส่วนที่เราต้องการหรือไม่ ไม่ใช้บัตรเครดิตเพื่อให้รู้ว่าเรามีปัญหาเรื่องการชักหน้าไม่ถึงหลังหรือไม่ และอาจช่วยให้เราประหยัดเงินเนื่องจากการต้องคิดไตร่ตรองก่อน เขียนบันทึกสิ่งที่ตนเองนึกคิด 3 บรรทัดทุกวันเพื่อให้เข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของตนเองมากขึ้น ลิสต์รายการหนี้สินและจ่ายคืน ฯลฯ

สร้างนิสัยการออมเงิน
เมื่อจบ 3 เดือนแล้ว ให้ทบทวนเป้าหมายและผลลัพธ์ที่ได้ สังเกตพฤติกรรมการใช้เงินของเราโดยดูจากสมุดบันทึกรายรับรายจ่าย และทำโปรแกรมออมเงินสำหรับ 3 เดือนถัดไป โดยปรับรูปแบบให้เข้ากับพฤติกรรมของเรา ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็นนิสัย เราจะสามารถออมเงินได้ดี